เกี่ยวกับข้อมูลคณะ

ค้นหา   

ประวัติคณะ

          คณะวิทยาการจัดการพัฒนามาจากภาควิชาสหกรณ์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการจะพัฒนาระบบสหกรณ์ให้เจริญก้าวหน้าในรัฐบาลสมัยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ พ.ศ. 2524 โดยกำหนดให้นักศึกษาครูทุกคนต้องเรียนวิชาสหกรณ์เบื้องต้น เพื่อนำไปเป็นความรู้พื้นฐานในการสอนนักเรียนต่อไป จากนั้นภาควิชาสหกรณ์ได้พัฒนาขึ้นเป็นลำดับและได้นำแขนงวิชาในสาขาวิชาการจัดการเข้ามาอยู่รวมกับภาควิชาสหกรณ์ ได้แก่ เศรษฐศาสตร์ การตลาด และการบัญชี เพื่อให้สามารถสอนวิชาสหกรณ์เบื้องต้นได้อย่างสมบูรณ์ และในปี พ.ศ. 2528 ได้ปรับเปลี่ยนชื่อจากภาควิชาสหกรณ์มาเป็นคณะวิชาวิทยาการจัดการและเปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรี โปรแกรมวิชาการจัดการทั่วไป ต่อมาได้มีการเปิดสอนโปรแกรมวิชาเศรษฐศาสตร์สหกรณ์และโปรแกรมวิชานิเทศศาสตร์ตามลำดับ

               เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า โปรดกระหม่อมพระราชทานนาม “สถาบันราชภัฏ” แทนชื่อวิทยาลัยครูทั่วประเทศ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณ อย่างหาที่สุดมิได้ วิทยาลัยครูเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ จึงใช้นามว่า “สถาบันราชภัฏเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์” ตั้งแต่นั้น เป็นต้นมา เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2545 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เปลี่ยนชื่อเป็น “สถาบันราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์” และวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏยังผลให้สถาบันราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ได้ยกฐานะเป็น มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 และมีประชาชนทั่วไปสนใจเข้าศึกษาเป็นจำนวนมาก จึงมีการขยายการรับนักศึกษาทั้งภาคปกติ และภาคนอกเวลาราชการ เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการกับการขยายตัวทางธุรกิจ และความต้องการในการเข้าศึกษาต่อ ปัจจุบันคณะวิทยาการจัดการมีการปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยในพ.ศ. 2550 เปิดสอนในสาขาวิชาการจัดการท่องเที่ยว พ.ศ. 2551 เปิดสอนในสาขาวิชาการจัดการการบิน และพ.ศ. 2553 ได้มีการพัฒนาสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน และพ.ศ. 2556 เปิดสอนสาขาวิชา การจัดการธุรกิจค้าปลีก และสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ เพื่อรองรับการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจของประเทศ โดยจัดให้มีความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐบาลและเอกชน เพื่อนำคณะวิทยาการจัดการไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

ทำเนียบผู้บริหาร

    ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัตนา สีดี
2565 - ปัจจุบัน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประพันธ์พงษ์ ชิณพงษ์
2559 - 2565
ผู้ช่วยศาสตราจารย์เจษฎา ความคุ้นเคย
2552 - 2559
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธีร์ธนิกส์ ศิริโวหาร
2548 - 2552
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุจิราภรณ์ ฟักจันทร์
2546 - 2548
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนะ เกษโกศล
2539 - 2546
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กุลวดี คูหะโรจนานนท์
2538 - 2539
อาจารย์เนิน นวนคงรอด
2534 - 2538
อาจารย์ปรีชา เผือกคเชนทร์
2527 - 2534

ปรัชญา

นักปฏิบัติมืออาชีพ นำนวัตกรรมสู่การพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน

ปณิธาน

มุ่งผลิตบัณฑิตให้เป็นนักปฏิบัติมืออาชีพ สามารถประยุกต์ใช้นวัตกรรมเพื่อสนับสนุนความเป็นเลิศทางวิชาการ อันจะนำไปสู่การพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน

วิสัยทัศน์

คณะแห่งการผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติมืออาชีพเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

พันธกิจ

1. พัฒนาบัณฑิตให้มีทักษะนักปฏิบัติมืออาชีพโดยใช้นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนที่ทันต่อสถานการณ์
2. สร้างงานวิจัยเพื่อนำไปสู่การใช้ประโยชน์ต่อสังคม
3. การให้บริการวิชาการแก่สังคมด้วยนวัตกรรมสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
4. บริหารจัดการโดยเน้นการมีส่วนร่วมและยึดหลักธรรมาภิบาล

อัตลักษณ์

“บัณฑิตจิตอาสา พัฒนาท้องถิ่น”

เอกลักษณ์

เป็นสถาบันที่น้อมนำแนวทางการดำเนินชีวิต ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

เป้าประสงค์

1. เป็นองค์กรผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติมืออาชีพเพื่อตอบสนองต่อการพัฒนาประเทศ
2. มุ่งเน้นการสร้างสรรค์งานวิจัยเพื่อสังคมให้เป็นที่ยอมรับในระดับชาติ
3. ให้บริการวิชาการเพื่อแก้ไขปัญหาและยกระดับคุณภาพชีวิตของสังคมอย่างยั่งยืน
4. เป็นองค์กรที่ใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานและเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

ค่านิยม วัฒนธรรมองค์กร

VALAYA-M

V : Visionary เป็นผู้รอบรู้ และมีวิสัยทัศน์
A : Activeness ทำงานเชิงรุก ริเริ่มสร้างสรรค์
L : Like to learn สนใจใฝ่เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
A : Adaptive ปรับตัวได้ดี พร้อมนำการเปลี่ยนแปลง
Y : Yields สร้างผลงานเป็นที่ประจักษ์
A : Acceptance and Friendliness เป็นที่ยอมรับในการเป็นกัลยาณมิตร
M : Multi-skill ทักษะที่หลากหลาย

ความหมายของสี

สีเทา สื่อถึง ความฉลาด ปัญญา ความภูมิฐาน น่าเชื่อถือ
สีเเสด สื่อถึง พลัง ศรัทธา ความกระตือรือร้น

ความหมายสัญลักษณ์

เป็นรูปที่คนประสานความร่วมมือเชื่อมโยงกันวงกลมบ่งบอกถึงการเป็นทีมเวิร์ค เเละองค์ความรู้ที่หลากหลายอันจะนำไปสู่การผลิต
บัณฑิตนักปฏิบัติมืออาชีพ